ขายฝาก

เช่น ขายฝากบ้าน , ขายฝากที่ดิน, ขายฝากคอนโด, ขายฝากอพาร์ตเม้นต์ หรือขายฝากโรงงาน เป็นต้น สัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่จดทะเบียน ซึ่งผู้ขายฝากจะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินกลับคืนต้องขอไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาสัญญาขายฝาก หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด  (กรณีนี้จะกล่าวถึงเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีกำหนด  ๑๐  ปี  )นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก, การขยายกำหนดเวลาไถ่  ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้แต่รวมกันแล้ว จะต้องไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก  การทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่จากขายฝากจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่, ผลของการใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด   กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งขายฝากจะตกกลับมาเป็นของผู้ขายฝากตั้งแต่เวลาที่ผู้ขายฝากชำระสินไถ่ หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่

ฝากขาย

ชื่อก็บอกความหมายอยู่แล้ว ว่าเป็นการฝากให้ตัวแทนนายหน้า หรือบริษัทโบรคเกอร์ขายบ้าน ที่ดิน คอนโด หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ดำเนินการแทน ในกรณีที่ เจ้าของบ้านอาจไม่มีทั้งเวลา ไม่อยากยุ่งยากหรือมีงานประจำ เพราะอาจต้องมีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ วางแผนทำการตลาด ตั้งราคาขาย ติดต่อและพาผู้ซื้อเยี่ยมชม หรือเปิดบ้านให้ลูกค้าดู หรือบางทีอาจยังต้องช่วยหาแหล่งเงินกู้หรือติดต่อกับสถาบันการเงินด้วย ก่อนทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์  โดยที่ค่าคอมมิชชั่นที่ผู้ฝากขายบ้านจะต้องจ่ายให้กับโบรคเกอร์ เมื่อขายได้ นั้น โดยทั่วไปอยู่ที่อัตรา 3%  ตามกฎหมาย หรือแล้วแต่จะตกลงกัน

admin

Author admin

More posts by admin

Leave a Reply